วันพุธที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2553

วงจรไฟฟ้าหม้อหุงข้าว : )

ปัจจุบันหม้อหุงข้าวไฟฟ้าเป็นเครื่องใช้ที่สำคัญและจำเป็นในชีวิตประจำวันเนื่องจากหม้อหุงข้าวไฟฟ้ามีระบบการทำงานอย่างอัตโนมัติ จึงอำนวยสะดวกและประหยัดเวลาในการหุงต้มเป็นอย่างมาก ถึงแม้ว่าปัจจุบันนี้จะมีบริษัทหม้อหุงข้าวเป็นจำนวนมากก็ตาม



ส่วนประกอบของหม้อหุงข้าวไฟฟ้า

หม้อหุงข้าวไฟฟ้ามีส่วนประกอบที่สำคัญ ได้แก่
- แผ่นแผ่กระจายความร้อนหรือแผ่นความร้อน
- เทอร์โมสตัท ที่ใช้ควบคุมอุณหภูมิ
- สวิตซ์
- หลอดไฟบอกสภาวะการทำงาน
- หม้อหุงข้าวชั้นใน
- หม้อหุงข้าวชั้นนอก

รายละเอียด


1.แผ่นความร้อน เป็นแผ่นโลหะผสมให้ความร้อนแก่หม้อหุงข้าวชั้นใน อยู่ส่วนล่างของหม้อ มีขดลวดความร้อนแฝงอยู่ในโลหะผสมนี้
ขดลวดความร้อนก็คือ ขดลวดนิโครม เมื่อมีกระแสไฟฟ้าผ่านความร้อนจากลวดนิโครมส่งไปยังแผ่นความร้อน บริเวณส่วนกลางของ
แผ่นความร้อนจะมีลักษณะเป็นช่องวงกลม ซึ่งเป็นช่องว่างของเทอร์โมสตัท

2.หลอดไฟบอกสภาวะการทำงาน โดยปกติมี 2 หลอดได้แก่ หลอดไฟที่ใช้กับวงจรการหุงข้าว และหลอดไฟที่ใช้กับวงจรอุ่นข้าว

3.หม้อข้าวชั้นใน ส่วนนี้มีความสำคัญมากทำด้วยอลูมิเนียมหรือโลหะผสม และต้องไม่บุบเบี้ยวง่าย มิฉะนั้นแล้วจะทำให้บริเวณก้นหม้อ
สัมผัสกับความร้อนได้ไม่ดี

4.หม้อข้าวชั้นนอก ส่วนนี้ทำด้วยโลหะที่พ่นสีให้มีลวดลายที่สวยงาม และมีหูจับสองด้าน บริเวณด้านล่างติดกับแผ่นความร้อน
มีสวิตซ์ติดอยู่และมีเต้าเสียบที่ใช้กับเต้ารับวงจรไฟฟ้าในบ้าน


5.เทอร์โมสตัท เป็นอุปกรณ์ควบคุมอุณหภูมิความร้อนอัตโนมัติ การทำงานของเทอร์โมสตัทหม้อหุงข้าวไฟฟ้าต่างจากอุปกรณ์ชนิดอื่นๆ
เพราะไม่สามารถใช้แผ่นโลหะคู่ได้






หลักการทำงานของเทอร์โมสตัท

หลักการทำงานของหม้อหุงข้าวไฟฟ้า

เมื่อผู้ใช้ใส่ข้าวและน้ำในหม้อชั้นในตามสัดส่วนที่กำหนดและวางหม้อชั้นในลงในที่แล้วก้นหม้อจะกดเทอร์โมสตัทที่อยู่ตรงกลางของแผ่น ความร้อน พร้อมที่จะทำงานเมื่อเรากดสวิตซ์ ON แล้ว คันกระเดื่องจะดันให้แท่งแม่เหล็กเลื่อนขึ้นไปดูดกับแท่งแม่เหล็กอันบนที่อยู่ใน ทรงกระบอก ทำให้คันโยกปล่อยให้หน้าสัมผัสเตะกัน กระแสไฟฟ้าไหลผ่านจุดสัมผัสผ่านลวดความร้อน ทำให้แผ่นความร้อนมีอุณหภูมิสูงขึ้น เมื่อข้าวเดือดจะเกิดความร้อนสะสมอยู่ภายในหม้อมากและเนื่องจากเราใส่น้ำและข้าวสัดส่วนที่บริษัทผู้ผลิตกำหนดไว้ เมื่อน้ำเดือดกลายเป็น ไอ ข้าวก็จะสุกพอดี เมื่อน้ำภายในหม้อหมดอุณหภูมิของหม้อชั้นในสูงเกิน 100 องศาเซลเซียสโดยสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว เพราะไม่มีน้ำคอยรักษา
อุณหภูมิแล้ว ความร้อนภายในหม้อจะทำให้แท่งแม่เหล็กกลายสภาพเป็นแม่เหล็กขดสปริงก็ดันให้แท่งแม่เหล็กอันล่างเลือนลงคันกระเดื่อง ก็จะดันให้หน้าสัมผัสแยกออกจากกัน ทำให้วงจรเปิดของกระแสไฟฟ้าจึงไหลเข้าสู่ลวดความร้อนไม่ได้ ถึงแม้จะไม่มีไฟฟ้าผ่านภายใน หม้อหุงข้าวยังมีความร้อนอยู่ จึงทำให้ข้าวสุกและระอุได้พอดีในหม้อหุงข้าวบางแบบ จะมีสวิตซ์อุ่นข้าวโดยมีเทอโมสตัทตัดวงจรไฟฟ้าแล้ว
เปลี่ยนมาเป็นสวิตซ์อุ่นข้าวแทน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น