วันจันทร์ที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

แจ้งที่อยู่ไซต์ ห้อง 3/12

คลิกที่ความคิดเห็น แล้วใส่ที่อยู่ใส่

แจ้งชื่อไซต์อินเตอร์เน็ตห้อง 3/11

คลิกที่ความคิดเห็นแล้วใส่ที่อยู่ใส่

การทำ KM ตามแนวของ Davenport

1. กำหนดเจ้าภาพ ทีมงาน คณะกรรมการในการทำ กำหนดความรับผิดชอบ มีผู้เชื่อมโยงความรู้ ผู้รู้เฉพาะด้านของความรู้ ที่ปรึกษา
2. กำหนดยุทธศาสตร์ในการทำ KM
3. สำรวจ KM ที่มีอยู่
4. ทำโครงการนำร่อง
5. สร้างโครงสร้างการบริหาร KM
6. มีระบบไอที มีเครือข่าย
7. แผนงานหลัก (master plan) ในการบริหาร KM
8. ระบบติดตาม การแก้ไข การป้องกัน พัฒนา ควบคุม วัดผล ส่งเสริม กระตุ้น

แจ้งไซต์ห้อง 3/14

ให้คลิกที่ความคิดเห็น ระบุชื่อและไซต์ที่ตัวเองจัดทำขึ้น

วันอาทิตย์ที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

แจ้งไซต์ของห้อง 3/13

ให้คลิกที่ความคิดเห็น แล้วใส่ ใซต์ที่ใส่เนื้อหาเรียนบร้อยแล้ว

วันพุธที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2553

กาต้มน้ำไฟฟ้า (Electric Kettle)

ต้น้ฟ้


กาน้ำร้อนเป็นอุปกรณ์ต้มน้ำ โดยมีอุปกรณ์ให้ความร้อนหรือแผ่นความร้อนให้ความร้อนในการต้มน้ำ โดยปกติกาต้มน้ำไฟฟ้าถูกออกแบบให้สามารถทำให้น้ำมีอุณหภูมิสูงถึงจุดเดือดประมาณ 100°C / 2112°F


1. กาต้มน้ำไฟฟ้าชนิดใช้น้ำเป็นสื่อไฟฟ้า



=>กาต้มน้ำแบบนี้ลักษณะเหมือนกับกาต้มน้ำที่ใช้บนเตาไฟพร้อมปลั๊กออกมาเหมือนกับเครื่องใช้ไฟฟ้าทั่วไป

1.1 อุปกรณ์ทำความร้อน

อุปกรณ์ทำความร้อนมีลักษณะเป็นแผ่นโลหะ(Sheet Metal)ทำด้วยอลูมิเนียมที่เป็นวงกลมวางซ้อนกัน
โดยมีฉนวนไฟฟ้าที่มีพลาสติกคั่นอยู่ ส่วนที่ขั้วไฟฟ้าจะต่อเข้ากับแผ่นอะลูมิเนียมแล้วแล้วต่อออกมาวงจรภายนอก


1.2หลักการทำงานกาต้มน้ำไฟฟ้าชนิดใช้น้ำเป็นสื่อไฟฟ้า


กาน้ำร้อนนี้จะทำงานได้ก็ต่อเมื่อระดับน้ำในกาสูงถึงอุปกรณ์ทำความร้อน โดยเมื่อกระแสไฟฟ้า
ไหลผ่านแผ่นความร้อนและน้ำจากขั้วหนึ่งไปยังอีกขั้วหนึ่งจะทำให้โมเลกุลของน้ำสั่น ตามปริมาณของกระไฟฟ้า
ที่ไหลผ่านส่งผลทำให้น้ำร้อน

2. กาน้ำร้อนไฟฟ้าชนิดธรรมดา


=>กาน้ำร้อนไฟฟ้าชนิดนี้ส่วนสำคัญที่ทำให้น้ำร้อนนั่นคือลวดความร้อน(Heater)โดยที่ลวดความร้อนนี้จะร้อนทันที

เมื่อมีกระแสไฟฟ้าไหลเข้าสู่ขดลวดความร้อน


2.1 ลวดความร้อน




ลวดความร้อนของกาต้มน้ำไฟฟ้าแบบนี้มีแบบปิดกับแบบกึ่งปิดทำหน้าที่ให้ความร้อน

-ลวดความร้อนแบบกึ่งปิด
ลวดความร้อนแบบกึ่งปิดทำด้วยลวดนิโครมชนิดแบน ทับบนไมก้า และหุ้มด้วยแผ่นไมก้าหน้าหลังอีกสองแผ่น


-ส่วนลวดความร้อนแบบปิด
ลวดความร้อนแบบปิดทำมาจากลวดนิโครมที่ห่อหุ้มด้วยผงแมกนีเซียมออกไซดและหุ้มด้วยท่อโลหะอีกชั้นหนึ่ง
ลวดความร้อนจะถูกดันโค้งงออยู่ที่ด้านล่างของกาต้มน้ำและจะต่อขั้วออกมา



หลักการทำงาน

มื่อมีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านลวดความร้อนจะทำให้ลวดความร้อนมีอุณหภูมิสูงขึ้นเรื่อยๆและความร้อนจะถูกถ่ายเทไปให้กับน้ำจนอุณหภูมิของน้ำสูงสุดถถึงจุดเดือดถ้าน้ำเดือดแล้วยังไม่ดึงปลั๊กออกน้ำจะเดือดต่อไปเรื่อยๆจนระเหยเป็นไอหมด




3. กาต้มน้ำไฟฟ้าชนิดอัตโนมัติ

=>กาต้มน้ำร้อนชนิดนี้จะมีอุปกรณ์ควบคุมอุณหภูมิของน้ำให้เป็นไปตามที่ต้องการ จะมีหลอดไฟบอกสภาวะการทำงานด้วย


หลักการทำงาน

มื่อมีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านหน้าสัมผัส (Contact) ที่ต่ออนุกรมกับขดลวดความร้อน (Main Heater)ในช่วงนี้น้ำจะยังมีอุณหภูมิต่ำทำให้หน้าสัมผัสยังแตะกันอยู่ เมื่อเวลาผ่านไปกระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านจะทำให้เมนฮีทเตอร์เกิดความร้อนขึ้นและส่งผ่านความร้อนไปยังน้ำทำให้น้ำมีอุณหภูมิสูงขึ้นในขณะที่เมนฮีทเตอร์ทำงาน หลอดไฟแสดงสภาวะการทำงาน(หลอดHeat) ที่ต่อขนานกับเมนฮีทเตอร์จะสว่าง เพื่อแสดงให้ทราบว่าเมนฮีทเตอร์กำลังทำงานให้ความร้อนอยู่





มื่ออุณหภูมิของน้ำถึงจุดที่ตั้งไว้(ประมาณ 80-100องศาเซลเซียส) จะทำให้แผ่นไบเมนทอลิคโค้งงอตัวผลักดันให้หน้าสัมผัสแยกออกจากกันตัดกระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านเมนฮีทเตอร์ แต่กระแสไฟฟ้ายังคงไหลผ่านลวดความร้อนชุดรักษาอุณหภูมิ(Warm Heater) จากนั้นจะไหลไปยังเมนฮีทเตอร์จนครบวงจร










การทำงานและวงจรของเตารีด



หลักการทำงานของเตารีดไฟฟ้า


- 1. เตารีดไฟฟ้าแบบธรรมดา(Electric Irons)





(เตารีดไฟฟ้าแบบเธรรมดา)



การทำงาน เมื่อมีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านแผ่นความร้อนจะทำให้เกิดความร้อนขึ้น

ที่แผ่นความร้อนส่งผ่านไปยังพื้นเตารีดมาก เกินไปจะต้องดึงปลั๊กไฟของเตารีดออก

เพื่อให้พื้นของเตารีดค่อยๆเย็นลงแตต่ความร้อนน้อยต้องเสียบปลั๊กไฟ


เพื่อให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านแผ่นความร้อนอีกครั้ง








- 2. เตารีดไฟฟ้าแบบอัตโนมัติ( Automatic Electric Iron






เตารีดนี้นิยมใช้กันมากในปัจจุบันสามารถควบอุณหภูมิได้ง่าย

การทำงาน เมื่อมีกระแสไฟฟ้าไหลเข้าเตารีด จะผ่านไปยังหน้าสัมผัส ลวดความร้อน

และลวดความต้านทานตามลำดับซึ่งจะทำให้แผ่นความร้อนเกิดความร้อนส่งผ่านความร้อน
ให้กับพื้นของเตารีด และแผ่นไบ-เมทอลที่ยึดติดกับพื้นเตารีด ก็ได้รับความร้อนไปด้วย

เมื่อแผ่นความร้อนไป-เมทอลได้รับความร้อนจะเกิดการงอตัวตามปริมาณความร้อนที่ได้รับ

ส่งผลทำให้แรงกดระหว่างหน้าสัมผัสน้อยลงจนพื้นเตารีดร้อนจนถึงระดับที่ตั้งไว้

หน้าสัมผัสก็จะตัดกระแสไฟ ไม่ให้ไหลผ่านแผ่นความร้อนทำให้เตารีดเย็นลงแผ่นไบ-เมทอลจะเริ่มเหยีด

ตรงตามเดิมจากนั้นหน้าสัมผัสก็ต่อกระแสไฟฟ้าให้กับแผ่นความร้อนอีกครั้ง








3. เตารีดไอน้ำ(Electric Steam Iron)





เตารีดไอน้ำได้พัฒนามาจากเตารีดแบบอัตโนมัติ ซึ่งเตารีดชนนิดนี้ไม่จำเป็นต้องพรมน้ำให้กับผ้า

แต่จะให้ไอน้ำกับเตารีดโดยตรง สำหรับส่วนประกอบและหลักการทำงานของเตารีดไอน้ำจะคล้ายกับ

เตารีดแบบอัตโนมัตินั่นคือมีแผ่นความร้อนเป็นอุปกรณ์ให้ความร้อนและมีเทอร์โมสแตต

เป็นอุปกรณ์ควบคุมอุนหภูมิของเตารีดจะแตกต่างกันที่เตารีดไอน้ำมีอุปกรณ์สำหรับใส่น้ำเพื่อสร้าง

ไอน้ำให้กับผ้าที่ต้องการรีด

สรุป เตารีดไฟฟ้าเป็นอุปกรณ์ที่ใช้พลังงานไฟฟ้าเปลี่ยนแปลงเป็นความร้อนในการอำนวยความสะดวกใน
การทำให้ผ้าเรียบ โดยมีแผ่นความร้อนที่ให้ความร้อนเป็นหลักต้องใช้พลังงานไฟฟ้ามากพอสมควรดังนั้น
ต้องใช้งานอย่างถูกต้องและตรวจสอบ ความสมบรูณ์ของเตารีดในการใช้งานให้มีความพร้อมอยู่เสมอเพื่อ
ให้การใช้งานได้อย่างประหยัดและปลอดภัย ดังนั้นจำเป็นอย่างยิ่ง ที่ต้องรู้ถึงโครงสร้างและส่วนประกอบ
ของเตารีดหลักการทำงานและ การใช้งานที่ถูกต้อง

วงจรไฟฟ้าหม้อหุงข้าว : )

ปัจจุบันหม้อหุงข้าวไฟฟ้าเป็นเครื่องใช้ที่สำคัญและจำเป็นในชีวิตประจำวันเนื่องจากหม้อหุงข้าวไฟฟ้ามีระบบการทำงานอย่างอัตโนมัติ จึงอำนวยสะดวกและประหยัดเวลาในการหุงต้มเป็นอย่างมาก ถึงแม้ว่าปัจจุบันนี้จะมีบริษัทหม้อหุงข้าวเป็นจำนวนมากก็ตาม



ส่วนประกอบของหม้อหุงข้าวไฟฟ้า

หม้อหุงข้าวไฟฟ้ามีส่วนประกอบที่สำคัญ ได้แก่
- แผ่นแผ่กระจายความร้อนหรือแผ่นความร้อน
- เทอร์โมสตัท ที่ใช้ควบคุมอุณหภูมิ
- สวิตซ์
- หลอดไฟบอกสภาวะการทำงาน
- หม้อหุงข้าวชั้นใน
- หม้อหุงข้าวชั้นนอก

รายละเอียด


1.แผ่นความร้อน เป็นแผ่นโลหะผสมให้ความร้อนแก่หม้อหุงข้าวชั้นใน อยู่ส่วนล่างของหม้อ มีขดลวดความร้อนแฝงอยู่ในโลหะผสมนี้
ขดลวดความร้อนก็คือ ขดลวดนิโครม เมื่อมีกระแสไฟฟ้าผ่านความร้อนจากลวดนิโครมส่งไปยังแผ่นความร้อน บริเวณส่วนกลางของ
แผ่นความร้อนจะมีลักษณะเป็นช่องวงกลม ซึ่งเป็นช่องว่างของเทอร์โมสตัท

2.หลอดไฟบอกสภาวะการทำงาน โดยปกติมี 2 หลอดได้แก่ หลอดไฟที่ใช้กับวงจรการหุงข้าว และหลอดไฟที่ใช้กับวงจรอุ่นข้าว

3.หม้อข้าวชั้นใน ส่วนนี้มีความสำคัญมากทำด้วยอลูมิเนียมหรือโลหะผสม และต้องไม่บุบเบี้ยวง่าย มิฉะนั้นแล้วจะทำให้บริเวณก้นหม้อ
สัมผัสกับความร้อนได้ไม่ดี

4.หม้อข้าวชั้นนอก ส่วนนี้ทำด้วยโลหะที่พ่นสีให้มีลวดลายที่สวยงาม และมีหูจับสองด้าน บริเวณด้านล่างติดกับแผ่นความร้อน
มีสวิตซ์ติดอยู่และมีเต้าเสียบที่ใช้กับเต้ารับวงจรไฟฟ้าในบ้าน


5.เทอร์โมสตัท เป็นอุปกรณ์ควบคุมอุณหภูมิความร้อนอัตโนมัติ การทำงานของเทอร์โมสตัทหม้อหุงข้าวไฟฟ้าต่างจากอุปกรณ์ชนิดอื่นๆ
เพราะไม่สามารถใช้แผ่นโลหะคู่ได้






หลักการทำงานของเทอร์โมสตัท

หลักการทำงานของหม้อหุงข้าวไฟฟ้า

เมื่อผู้ใช้ใส่ข้าวและน้ำในหม้อชั้นในตามสัดส่วนที่กำหนดและวางหม้อชั้นในลงในที่แล้วก้นหม้อจะกดเทอร์โมสตัทที่อยู่ตรงกลางของแผ่น ความร้อน พร้อมที่จะทำงานเมื่อเรากดสวิตซ์ ON แล้ว คันกระเดื่องจะดันให้แท่งแม่เหล็กเลื่อนขึ้นไปดูดกับแท่งแม่เหล็กอันบนที่อยู่ใน ทรงกระบอก ทำให้คันโยกปล่อยให้หน้าสัมผัสเตะกัน กระแสไฟฟ้าไหลผ่านจุดสัมผัสผ่านลวดความร้อน ทำให้แผ่นความร้อนมีอุณหภูมิสูงขึ้น เมื่อข้าวเดือดจะเกิดความร้อนสะสมอยู่ภายในหม้อมากและเนื่องจากเราใส่น้ำและข้าวสัดส่วนที่บริษัทผู้ผลิตกำหนดไว้ เมื่อน้ำเดือดกลายเป็น ไอ ข้าวก็จะสุกพอดี เมื่อน้ำภายในหม้อหมดอุณหภูมิของหม้อชั้นในสูงเกิน 100 องศาเซลเซียสโดยสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว เพราะไม่มีน้ำคอยรักษา
อุณหภูมิแล้ว ความร้อนภายในหม้อจะทำให้แท่งแม่เหล็กกลายสภาพเป็นแม่เหล็กขดสปริงก็ดันให้แท่งแม่เหล็กอันล่างเลือนลงคันกระเดื่อง ก็จะดันให้หน้าสัมผัสแยกออกจากกัน ทำให้วงจรเปิดของกระแสไฟฟ้าจึงไหลเข้าสู่ลวดความร้อนไม่ได้ ถึงแม้จะไม่มีไฟฟ้าผ่านภายใน หม้อหุงข้าวยังมีความร้อนอยู่ จึงทำให้ข้าวสุกและระอุได้พอดีในหม้อหุงข้าวบางแบบ จะมีสวิตซ์อุ่นข้าวโดยมีเทอโมสตัทตัดวงจรไฟฟ้าแล้ว
เปลี่ยนมาเป็นสวิตซ์อุ่นข้าวแทน

วงจรไฟฟ้า

วงจรไฟฟ้า หมายถึง ทางเดินของกระแสไฟฟ้า ซึ่งไหลมาจาก
แหล่งกำเนิดผ่านตัวนำ และเครื่องใช้ไฟฟ้าหรือโหลด แล้วไหลกลับไป
ยังแหล่งกำเนิดเดิม




วงจรไฟฟ้าประกอบด้วยส่วนที่สำคัญ 3 ส่วน คือ




1. แหล่งกำเนิดไฟฟ้า หมายถึง แหล่งจ่ายแรงดันไฟฟ้าไปยังวงจรไฟฟ้า เช่น แบตเตอรี่





2. ตัวนำไฟฟ้า หมายถึง สายไฟฟ้าหรือสื่อที่จะเป็นตัวนำให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านไป
ยังเครื่องใช้ไฟฟ้า ซึ่งต่อระหว่างแหล่งกำเนิดกับเครื่องใช้ไฟฟ้า



3. เครื่องใช้ไฟฟ้า หมายถึง เครื่องใช้ที่สามารถเปลี่ยนพลังงานไฟฟ้า
ให้เป็นพลังงานรูปอื่น ซึ่งจะเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า โหลด สวิตซ์ไฟฟ้า
นั้นเป็นส่วนหนึ่งของวงจรไฟฟ้า มีหน้าที่ในการควบคุมการทำงานให้มี
ความสะดวกและปลอดภัยมากยิ่งขึ้น ถ้าไม่มีสวิตซ์ไฟฟ้าก็จะไม่มีผล
ต่อการทำงานวงจรไฟฟ้าใดๆ เลย


การต่อวงจรไฟฟ้าสามารถแบ่งวิธีการต่อได้ 3 แบบ คือ

1. วงจรอนุกรม เป็นการนำเอาเครื่องใช้ไฟฟ้าหรือโหลดหลายๆ อันมาต่อเรียงกันไปเหมือนลูกโซ่ กล่าวคือ ปลายของเครื่องใช้ไฟฟ้าตัวที่ 1 นำไปต่อกับต้นของเครื่องใช้ไฟฟ้าตัวที่ 2 และต่อเรียงกันไปเรื่อยๆ จนหมด แล้วนำไปต่อเข้ากับแหล่งกำเนิด การต่อวงจรแบบอนุกรมจะมีทางเดินของกระแสไฟฟ้าได้ทางเดียวเท่านั้น ถ้าเกิดเครื่องใช้ไฟฟ้าตัวใดตัวหนึ่งเปิดวงจรหรือขาด จะทำให้วงจรทั้งหมดไม่ทำงาน

คุณสมบัติที่สำคัญของวงจรอนุกรม
- กระแสไฟฟ้าจะไหลผ่านเท่ากันตลอดวงจร
- แรงดันไฟฟ้าตกคร่อมส่วนต่างๆ ของวงจร เมื่อนำมารวมกันแล้วจะเท่ากับแรงดันไฟฟ้าที่แหล่งกำเนิด
- ความต้านทานรวมของวงจร จะมีค่าเท่ากับผลรวมของความต้านทานแต่ละตัวในวงจรรวมกัน
2. วงจรขนาน เป็นการนำเอาต้นของเครื่องใช้ไฟฟ้าทุกๆ ตัวมาต่อรวมกัน และต่อเข้ากับแหล่งกำเนิดที่จุดหนึ่ง นำปลายสายของทุกๆ ตัวมาต่อรวมกันและนำไปต่อกับแหล่งกำเนิดอีกจุดหนึ่งที่เหลือ ซึ่งเมื่อเครื่องใช้ไฟฟ้าแต่ละอันต่อเรียบร้อยแล้วจะกลายเป็นวงจรย่อย กระแสไฟฟ้าที่ไหลจะสามารถไหลได้หลายทางขึ้นอยู่กับตัวของเครื่องใช้ไฟฟ้าที่นำมาต่อขนานกัน ถ้าเกิดในวงจรมีเครื่องใช้ไฟฟ้าตัวหนึ่งขาดหรือเปิดวงจร เครื่องใช้ไฟฟ้าที่เหลือก็ยังสามารถทำงานได้ ในบ้านเรือนที่อยู่อาศัยปัจจุบันจะเป็นการต่อวงจรแบบนี้ทั้งสิ้น
คุณสมบัติที่สำคัญของวงจรขนาน
- กระแสไฟฟ้ารวมของวงจรขนาน จะมีค่าเท่ากับกระแสไฟฟ้าย่อยที่ไหลในแต่ละสาขาของวงจรรวมกัน
- แรงดันไฟฟ้าตกคร่อมส่วนต่างๆ ของวงจร จะเท่ากับแรงดันไฟฟ้าที่แหล่งกำเนิด
- ความต้านทานรวมของวงจร จะมีค่าน้อยกว่าความต้านทานตัวที่น้อยที่สุดที่ต่ออยู่ในวงจร
3. วงจรผสม เป็นวงจรที่นำเอาวิธีการต่อแบบอนุกรม และวิธีการต่อแบบขนานมารวมให้เป็นวงจรเดียวกัน ซึ่งสามารถแบ่งตามลักษณะของการต่อได้ 2 ลักษณะดังนี้
3.1 วงจรผสมแบบอนุกรม-ขนาน เป็นการนำเครื่องใช้ไฟฟ้าหรือโหลดไปต่อกันอย่างอนุกรมก่อน แล้วจึงนำไปต่อกันแบบขนานอีกครั้งหนึ่ง
3.2 วงจรผสมแบบขนาน-อนุกรม เป็นการนำเครื่องใช้ไฟฟ้าหรือโหลดไปต่อกันอย่างขนานก่อน แล้วจึงนำไปต่อกันแบบอนุกรมอีกครั้งหนึ่ง

คุณสมบัติที่สำคัญของวงจรผสม
เป็นการนำเอาคุณสมบัติของวงจรอนุกรม และคุณสมบัติของวงจรขนานมารวมกัน ซึ่งหมายความว่าถ้าตำแหน่งที่มีการต่อแบบอนุกรม ก็เอาคุณสมบัติ ของวงจรการต่ออนุกรมมาพิจารณา ตำแหน่งใดที่มีการต่อแบบขนาน ก็เอาคุณสมบัติของวงจรการต่อขนานมาพิจารณาไปทีละขั้นตอน
ความแตกต่างของวงจรเปิด-วงจรปิด
1. วงจรเปิด คือวงจรที่กระแสไฟฟ้าไม่สามารถไหลได้ครบวงจร ซึ่งเป็นผลทำให้เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ต่ออยู่ในวงจรไม่สามารถจ่ายพลังงานออกมาได้ สาเหตุของวงจรเปิดอาจเกิดจากสายหลุด สายขาด สายหลวม สวิตซ์ไม่ต่อวงจร หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าชำรุด เป็นต้น
2. วงจรปิด คือวงจรที่กระแสไฟฟ้าไหลได้ครบวงจร ทำให้โหลด หรือ เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ต่ออยู่ในวงจรนั้นๆ ทำงาน
ความหมายทางไฟฟ้า
- แรงดันไฟฟ้า หรือแรงเคลื่อนไฟฟ้า หมายถึงแรงที่ดันให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านความต้านทานของวงจรไปได้ ใช้แทนด้วยตัว E มีหน่วยวัดเป็น โวลท์ (V)
- กระแสไฟฟ้า หมายถึงการเคลื่อนที่ของอิเล็คตรอนอิสระจากอะตอมหนึ่งไปยังอะตอมหนึ่ง จะไหลมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับความต้านทานของวงจร ใช้แทนด้วยตัว I มีหน่วยวัดเป็นแอมแปร์ (A)
- ความต้านทานไฟฟ้า หมายถึงตัวที่ต้านการไหลของกระแสไฟฟ้าให้ไหลในจำนวนจำกัด ซึ่ง อยู่ในรูปของเครื่องใช้ไฟฟ้าทุกชนิด เช่น แผ่นลวดความร้อนของเตารีด หม้อหุงข้าว หลอดไฟฟ้า เป็นต้น เครื่องใช้ไฟฟ้าเหล่านี้ต้านการไหลของกระแสไฟฟ้าให้ไหลในจำนวนจำกัด ใช้แทนด้วยตัว R มีหน่วยวัดเป็นโอห์ม (W )
- กำลังงานไฟฟ้า หมายถึงอัตราการเปลี่ยนแปลงพลังงาน หรืออัตราการทำงาน ได้จากผลคูณของแรงดันไฟฟ้ากับกระแสไฟฟ้า ใช้แทนด้วยตัว P มีหน่วยวัดเป็นวัตต์ (W)
- พลังงานไฟฟ้า หมายถึงกำลังไฟฟ้าที่นำไปใช้ในระยะเวลาหนึ่ง มีหน่วยวัดเป็นวัตต์ชั่วโมง (Wh) หรือยูนิต ใช้แทนด้วยตัว W
- ไฟฟ้าลัดวงจรหรือไฟฟ้าช็อต หมายถึงการที่ไฟฟ้าไหลผ่านจากสายไฟฟ้าเส้นหนึ่งไปยังอีกเส้นหนึ่ง โดยไม่ผ่านเครื่องใช้ไฟฟ้าหรือโหลดใดๆ สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากฉนวนของสายไฟฟ้าชำรุด และมาสัมผัสกันจึงมีความร้อนสูง มีประกายไฟ ทำให้เกิดเพลิงไหม้ได้ถ้าบริเวณนั้นมีวัสดุไวไฟ
- ไฟฟ้าดูด หมายถึงการที่มีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านร่างกาย ซึ่งจะทำให้เกิดอาการกล้ามเนื้อแข็งเกร็ง หัวใจทำงานผิดจังหวะ เต้นอ่อนลงจนหยุดเต้น และเสียชีวิตในที่สุด แต่อย่างไรก็ตามความรุนแรงของอันตรายจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับปริมาณของกระแส เวลาและเส้นทางที่กระแสไฟฟ้าไหลผ่าน
- ไฟฟ้ารั่ว หมายถึงสายไฟฟ้าเส้นที่มีไฟจะไหลไปสู่ส่วนที่เป็นโลหะของเครื่องใช้ไฟฟ้าถ้าไม่มีสายดินก็จะทำให้ได้รับอันตรายแต่ถ้ามีสายดินก็จะทำให้กระแสไฟฟ้าที่ไหลอยู่นั้นไหลลงดินแทน
- ไฟฟ้าเกิน หมายถึงการใช้ไฟฟ้าเกินกว่าขนาดของอุปกรณ์ตัดตอนทางไฟฟ้า ทำให้มีการปลดวงจรไฟฟ้า อาการนี้สังเกตได้คือจะเกิดหลังจากที่ได้ เปิดใช้ไฟฟ้าสักครู่ หรืออาจนานหลายนาทีจึงจะตรวจสอบเจอ

วงจรไฟฟ้าแสงสว่าง =)

วงจรไฟฟ้าแสงสว่าง

ส่วนประกอบของวงจรแสงสว่าง

การที่จะทำให้เกิดแสงสว่างในวงจรไฟฟ้าได้นั้น ในวงจรจะต้องประกอบด้วยแหล่งจ่ายไฟฟ้าสำหรับป้อนแรงดันและกระแสให้กับหลอดโดยผ่านสายไฟ โดยที่แหล่งจ่ายไฟฟ้าจะเป็นแบบไฟฟ้ากระแสตรงหรือกระแสสลับขึ้นอยู่กับชนิดของหลอดที่ต้องการใช้กับไฟฟ้าประเภทใด

แสดงส่วนประกอบของวงจรไฟแสงสว่าง

ถ้าเป็นไฟฟ้าที่ใช้ตามบ้านเรือน ต้องป้อนไฟฟ้ากระแสสลับให้กับหลอดไฟ โดยที่แหล่งจ่ายไฟคือโรงไฟฟ้าบริเวณเขื่อนต่าง ๆ ที่ผลิตกระแสไฟฟ้าแล้วส่งมาตามสายไฟฟ้าแรงสูงผ่านหม้อแปลงที่การไฟฟ้าสถานีย่อย เพื่อแปลงแรงดันให้ลดลงเหลือประมาณ 12,000 โวลท์ แล้วส่งต่อมายังสายไฟตามถนนสายต่าง ๆ ก่อนที่จะตอเข้าบ้านเรือน จะมีหม้อแปลงที่ใช้ในการแปลงไฟจาก 12,000 v เป็น 220 v 1 เฟส โดยที่สายไฟจะมี 2 เส้น คือ ไลน์ (Line) และ นิวตรอน (Neutral) ไลน์ เป็นสายไฟที่มีไฟ ส่วนนิวตรอน เป็นสายดินไม่มีไฟ สามารถทดสอบได้โดยใช้ไขควงเช็คไฟ ถ้าไฟติดที่เส้นใดแสดงว่าเป็นเส้นไลน์ นอกจากนี้ยังมีระบบไฟฟ้าที่จ่ายให้กับโรงงานอุตสาหกรรมประเภท 3 เฟส ซึ่งแรงเคลื่อนที่จ่ายอาจจะเป็น 220 v หรือ 380 v ขึ้นอยู่กับความต้องการใช้งาน โดยทั่วไปโรงงานอุตสาหกรรมจะต้องใช้ไฟมาก จึงจำเป็นที่จะต้องใช้ไฟแบบ 3 เฟส อาจจะมี 3 สาย หรือ 4 สาย ก็แล้วแต่ความต้องการใช้งาน


ชนิดของหลอดไฟฟ้

หลอดไฟที่ใ่ช้งานในปัจจุบันมีอยู่มากมายหลายประเภท เช่น หลอดไส้,หลอดนีออน,หลอดฟลูออเรสเซนต์, หลอดทังสเตนฮาโลเจน , หลอดไลหะฮาไลด์, หลอดโซเดียม ฯลฯ เป็นต้น หลอดบางประเภทเป็นที่คุ้นเคยและพบเห็นได้่ทั่วไป เช่น หลอดไส้, หลอดฟลูออเรสเซนต์ เป็นต้น


หลอดไส้ (Incandescent Lamp)


เป็นหลอดไฟที่ใช้กันในยุคแรก ๆ บางทีเรียกกันว่าหลอดดวงเทียน เพราะมีแสงแดง ๆ เหมือนแสงเทียน มีทั้งชนิดแก้วใสและแก้วฝ้า เมื่อกระแสไฟฟ้าไหลผ่าน ไส้หลอดจะเกิดความร้อยย่ิงความร้อยมากขึ้นเท่าใดแสงสว่างที่เปล่งออกมาจากไส้หลอดก็จะมากขึ้นเท่านั้น แต่ไม่ควรร้อยเกินขีดจำกัดท่ีจะรับได้ เราะไส้หลอดท่ีทำจากทังสเตนอาจขาดได้

วันอังคารที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2553

วงจรไฟฟ้าภายในบ้าน


วงจรไฟฟ้าภายในบ้าน





วงจรไฟฟ้า เป็นเส้นทางที่กระแสไฟฟ้าไหลผ่านได้ครบรอบวงจรไฟฟ้าในบ้าน โดยกระแสไฟฟ้าจะไหลผ่านสายไฟ สะพานไฟ ฟิวส์ สวิตช์ และเครื่องใช้ไฟฟ้าตามลำดับ แล้วจึงไหลกลับทางสายกลาง




สายไฟของวงจรไฟฟ้าในบ้าน ประกอบด้วยสายไฟ 2 สาย คือ
1. สายมีไฟ มักจะหุ้มด้วยพีวีซีสีแดง มีศักย์ไฟฟ้า 220 โวลต์ หรือ เรียกว่า สาย L
2.สายกลาง มักจะหุ้มด้วยพีวีซีสีดำ มีศักย์ไฟฟ้าเป็นศูนย์ หรือ เรียกว่า สาย N







เมื่อใช้เครื่องใช้ไฟฟ้า วงจรไฟฟ้าจะเป็นดังนี้







วงจรไฟฟ้าในบ้านประกอบด้วยอุปกรณ์ไฟฟ้าและเครื่องใช้ไฟฟ้า
วงจรปิด คือ วงจรไฟฟ้าที่มีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านได้ครบวงจร
วงจรเปิด คือ วงจรไฟฟ้าที่ส่วนใดส่วนหนึ่งของวงจรไฟฟ้าขาด ทำให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านไม่ได้






อุปกรณ์ไฟฟ้าที่จำเป็นต่อวงจรไฟฟ้าในบ้าน ได้แก่ สายไฟ ฟิวส์ สะพานไฟ สวิตช์ เต้ารับ และเต้าเสียบ


สายไฟ เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ส่งพลังงานไฟฟ้าจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งในรูปของกระแสไฟฟ้า




สายไฟทำด้วยลวดตัวนำซึ่งเป็นโลหะ มีความต้านทานไฟฟ้าต่ำ หุ้มด้วยฉนวนไฟฟ้า ซึ่งอาจเป็นยางหรือพลาสติกพีวีซี หรือฉาบด้วยน้ำยาเคมี เพื่อป้องกันกระแสไฟฟ้ารั่ว




ฟิวส์ เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ทำหน้าที่ตัดวงจรไฟฟ้า เพื่อป้องกันไม่ให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านมากเกินไป เมื่อมีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านฟิวส์เกินกำหนด จะเกิดความร้อนขึ้นที่ฟิวส์ ทำให้ฟิวส์หลอมละลาย ฟิวส์จึงขาด ฟิวส์จึงช่ายป้องกันอันตรายจากไฟฟ้าลัดวงจรได้ ฟิวส์เป็นโลหะผสมของ บิสมัส ตะกั่ว และดีบุก มีจุดหลอมเหลวต่ำ ฟิวส์มีหลายชนิด แต่ละชนิดจะใช้แตกต่างกัน ดังนี้



ฟิวส์แบบเส้นลวด นิยมใช้ตามบ้านเรือน และสะพานไฟ




ฟิวส์แบบขวดกระเบื้อง นิยมใช้ตามบ้านเรือนและแผงไฟ







ฟิวส์แผ่น ปลายทั้งสองข้างมีขอเกี่ยวทำด้วยทองแดง นิยมใช้ติดแผงควบคุมไฟในอาคารใหญ่ๆ

โรงงาน และโรงเรียน






ฟิวส์บรรจุในหลอดแก้ว นิยมใช้ในวงจรไฟฟ้าของเครื่องใช้ไฟฟ้า เช่น โทรทัศน์ วิทยุ






ฟิวส์ที่ใช้ตามบ้านมีหลายขนาดให้เลือกใช้ตามความเหมาะสม คือ ขนาด 5 , 10 , 15 , 20 30 แอมแปร์



ฟิวส์ขนาด 10 แอมแปร์ หมายถึง ฟิวส์ที่ยอมให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านได้ไม่เกิน 10 แอมแปร์ ถ้ากระแสไหลผ่านเกินกว่านี้ จะทำให้ฟิวส์หลอมละลายขาดได้



การเลือกใช้ฟิวส์ ควรเลือกฟิวส์ที่ทนกระแสไฟฟ้าสูงสุดได้มากกว่ากระแสไฟฟ้าสูงสุดที่ใช้ในบ้านเล็กน้อย และไม่ควรใช้ลวดเหล็กหรือลวดทองแดงที่มีจุดหลอมเหลวสูงแทนฟิวส์ เพราะเมื่อกระแสไฟฟ้าไหลผ่านมากเกินไป ลวดเหล็กหรือลวดทองแดงจะไม่หลอมละลาย จึงไม่ช่วยตัดวงจรไฟฟ้าในบ้าน




ฟิวส์อัตโนมัติ ทำหน้าที่ตัดวงจรไฟฟ้าเมื่อมีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านเกินกำหนด หรือเมื่อเกิดไฟฟ้าลัดวงจรนิยมใช้ต่อกับเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ต้องใช้ปริมาณกระแสไฟฟ้ามากๆ เช่น เครื่องปรับอากาศ มอเตอร์ เป็นต้น




สะพานไฟหรือ คัทเอาท์ เป็นอุปกรณืที่ใช้ปิดเปิดวงจรไฟฟ้าในบ้านหรืออาคาร ซึ่งเปรียบเสมือนกับสวิตช์ขนาดใหญ่ของบ้าน เราสามารถใช้สะพานไฟควบคุมวงจรไฟฟ้าในแต่ละส่วนของบ้านได้





สวิตช์ เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าทำหน้าที่ควบคุมการไหลของกระแสไฟฟ้าที่จะผ่านเข้าไปในเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆภายในบ้านให้เปิดปิดได้ตามต้องการ เช่น สวิตช์ปิด-เปิดหลอดไฟ สวิตช์กดกริ่ง สวิตช์พัดลมที่เปิดได้หลายจังหวะ เป็นต้น บนสวิตช์จะมีตัวเลขกำกับ เช่น 15 A 300 V AC หมายความว่า สวิตช์ใช้กับกระแสไฟฟ้าสูงสุดไม่เกิน 15 แอมแปร์ ความต่างศักย์ไม่เกิน 300 โวลต์ และการต่อสวิตช์ต้องต่ออนุกรมกับเครื่องใช้ไฟฟ้า





เต้ารับและเต้าเสียบ เครื่องใช้ไฟฟ้าในอาคารบ้านเรือนหลายชนิด เช่น พัดลม โทรทัศน์ เครื่องรับวิทยุ นอกจากจะมีสวิตช์ติดประจำอยู่ที่ตัวเครื่องแล้ว ยังมีสายไฟติดมากับเครื่องใช้ไฟฟ้าด้วย ซึ่งที่ปลายสายไฟจะมีเต้าเสียบ เมื่อนำไปเสียบกับเต้ารับแล้วจะทำให้กระแสไฟฟ้าไหลเข้าสู่เครื่องไฟฟ้าให้ครบวงจร

ภายในบ้านควรติดตั้งเต้ารับไว้หลายๆจุดเพื่อสะดวกในการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้า และไม่ควรต่อเครื่องใช้ไฟฟ้าหลายๆเครื่องเข้ากับเต้ารับอันเดียวกัน เพราะจะทำให้กระแสไฟฟ้าผ่ายสายไฟเข้าเต้ารับมากเกินไป ทำให้เกิดความร้อนสูงในสายไฟและเต้ารับจนเกิดเพลิงไหม้ได้

วงจรไฟฟ้าของกระดิ่งไฟฟ้า

กระดิ่งไฟฟ้า
กระดิ่งไฟฟ้า แบบใหม่มักจะออกแบบให้เคาะส่งเสียงที่แตกต่างกัน 2 เสียงต่อเนื่องกันสำหรับประตูหน้าบ้าน (แบบที่มีความซับซ้อนมากกว่านี้ อาจทำให้เคาะส่งเสียงได้ถึง 4 เสียงหรือมากกว่าก็ได้ ) และเคาะส่งเสียงเพียง 1 เสียง สำหรับประตูหลังบ้านการเคาะส่งเสียงดังกล่าวเกิดจากการเคลื่อนที่ของแกนวิ่งของอุปกรณ์แม่เหล็กไฟฟ้าที่เรียกว่าขดลวดเหนี่ยวนำ (แทนที่ตัวตัดวงจรชั่วขณะในกริ่งประตูไฟฟ้า )
การต่อสายไฟในวงจรกระดิ่งไฟฟ้ามีลักษณะเหมือนกับการต่อสายไฟฟ้าของการใช้กริ่งและออดไฟ้ฟ้าร่วมกัน คือจะใช้หม้อแปลงแรงดันไฟฟ้าเพียงตัวเดียว เพื่อลดแรงดันไฟฟ้าบ้านลงก่อนจัดจ่ายให้กับกระดิ่งไฟฟ้า แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อต้องการเปลี่ยนจากการใช้กริ่งและออดไฟฟ้าร่วมกันมาเป็นการใช้กระดิ่งไฟฟ้าเพียงตัวเดียวนั้น ควรจะตรวจสอบแรงดันไฟฟ้าที่ตัวกระดิ่งใหม่ต้องการเสียก่อน ซึ่งถ้าพบว่าหม้อแปลงแรงดันตัวเดิมจัดจ่ายแรงดันไฟฟ้าผิดไปจากที่ตรวจสอบพบ ก็จะต้องทำการเปลี่ยนหม้อแปลงใหม่ด้วย

ส่วนประกอบภายในของกระดิ่งไฟฟ้า กระดิ่งไฟฟ้าแบบธรรมดาที่มีการเชื่อมต่อไปทั้งประตูหน้าบ้านและประตูหลังบ้าน ประกอบด้วย แผ่นกระดิ่งโลหะ 2 แผ่น จัดวางอยู่บนด้านตรงกันข้ามทั้งสองของตัวกล่องกระดิ่ง เมื่อถูกเคาะด้วยแกนวิ่งจะให้เสียงที่แตกต่างกันกำลังไฟฟ้าที่จ่ายมาจากหม้อแปลงไฟฟ้าสู่ขดลวดเหนี่ยวนำแต่ละตัว จำทำให้แกนวิ่งของแต่ละตัวถูกกดดันด้วยอำนาจแม่เหล็กให้วิ่งอยู่ภายในรูของขดลวดเหนี่ยวนำไปทางด้านหนึ่ง และเมื่อกำลังไฟฟ้าจากหม้อแปลงถูกตัดออก สปริงจะดันแกนวิ่งให้เคลื่อนกลับมาทางเดิม
ขั้นตอนการทำงานของกระดิ่งไฟฟ้า

1. รูปที่ 2 (ก) เมื่อสวิตช์ปุ่มกดถูกกดให้ทำงานปิดวงจรระหว่างขดลวดเหนี่ยวนำและหม้อแปลงแรงดันไฟฟ้ากระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านขดลวดเหนี่ยวนำจะทำให้เกิดสนามแม่เหล็กกระจายออกโดยรอบ ซึ่งจะดึงดูดแกนวิ่งให้วิ่งลอดผ่านขดลวดไปทางขวา เคาะกระทบเข้ากับแผ่นกระดิ่งทางขวามือเกิดเสียงขึ้น ในการเคลื่อนที่ไปทางขวาของแกนวิ่งนั้นจะมีผลให้ขดลวดสปริงถูกอัดกดตามมาด้วย
2. รูปที่ 2 (ข) เมื่อปล่อยสวิตช์ปุ่มกด วงจรจะเปิด และไม่มีกระแสไหลสู่ขดลวดเหนี่ยวนำ ความเป็นแม่เหล็กของมันจะหมดไป ดังนั้น แรงของสปริงที่ถูกกดอัดไว้จะดันให้แกนวิ่งเคลื่อนที่กลับไปทางซ้ายมือ เคาะกระทบเข้ากับแผ่นกระดิ่งทางด้านซ้ายมือ ขดลวดสปริงก็จะถูกแกนวิ่งดึงให้ยืดตัวออกเล็กน้อย
3. รูปที่ 2 (ค) ขดลวดสปริงจะดึงตัวแกนวิ่งกลับมาทางขวาอีกเล็กน้อย ( แต่ไม่ไกลพอที่จะไปเคาะกระทบเข้ากับแผ่นกระดิ่งทางด้านขวามือ) แล้วจะหยุดนิ่งที่ตำแหน่งซึ่งขดลวดสปริงมีความยาวอิสระ และพร้อมที่จะทำงานเป็นวัฏจักรเช่นเดิมอีกเมื่อใดก็ตามที่มีการกดปุ่มสวิตช์ปุ่มกด
"ไฟฟ้านั้นเป็นสิ่งที่มีประโยชน์อย่างมากในปัจจุบัน อีกทั้งยังมีความสำคัญและความ

จำเป็นต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์อีกด้วยแม้ว่าจะเป็นเช่นนั้น แต่การสร้างกระแสไฟฟ้าขึ้นมาก็ไม่ใช่เรื่องง่ายนัก ในปัจจุบันกระแส

ไฟฟ้าผลิตขึ้นได้จากพลังงานหลายรูปแบบทั้งน้ำมัน น้ำ ลม และปรมาณู และฟาราเดย์ผู้นี้เองที่ประดิษฐ์คิดค้นเครื่องกำเนิดไฟฟ้าที่

เรียกว่า "ไดนาโม (Dynamo)" ซึ่งเป็นต้นแบบของเครื่องกำเนิดพลังงานไฟฟ้าในปัจจุบัน ซึ่งเราจะต้องช่วยกันประหยัดไฟฟ้าน่ะ

จ๊ะ..."

Electrical circuit

วงจรไฟฟ้า(Electrical circuit)

วงจรไฟฟ้า หมายถึง เส้นทางที่กระแสไฟฟ้าไหลผ่านได้ครบรอบ


สำหรับวงจรไฟฟ้าในบ้านกระแสไฟฟ้าจะผ่านมาตรไฟฟ้าทางสายไฟเส้นที่มีศักย์ไฟฟ้า 200 โวลต์ ซึ่งเรียกว่า สายมีไฟ แล้วไหลเข้าสู่สะพานไฟผ่านฟิวส์และสวิตช์ไปยังเครื่องใช้ไฟฟ้า จากนั้นจึงไหลผ่านสายไฟอีกเส้นที่มีศักย์ไฟฟ้าเป็นศูนย์ ซึ่งเรียกว่า "สายกลางกลับออกไป"



ในวงจรไฟฟ้าทั่ว ๆ ไปจะมีสิ่งที่มาเกี่ยวข้อง 3 อย่าง คือ กระแสไฟฟ้า แรงดันไฟฟ้า และความต้านทานไฟฟ้ากระแสไฟฟ้าจะไหลไปได้หรือเคลื่อนที่ไปได้จะต้องมีตัวนำหรือสายไฟฟ้า และจะต้องมีกำลังดันหรือแรงเคลื่อนไฟฟ้า(V) ดันให้กระแสไฟฟ้าไหลไป จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ตัวนำ และความต้านทานประกอบกัน


วงจรไฟฟ้า แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ


1. วงจรปิด (Closed Circuit) จากรูปจะเห็น กระแสไฟฟ้าไหลออกจากแหล่งกำเนิด ผ่านไปตามสายไฟ แล้วผ่านสวิทช์ไฟซี่งแตะกันอยู่ (ภาษาพูดว่าเปิดไฟ) แล้วกระแสไฟฟ้าไหลต่อไปผ่านดวงไฟ แล้วไหลกลับมาที่แหล่งกำเนิดอีกจะเห็นได้ว่ากระแสไฟฟ้าสามารถไหลผ่านได้ครบวงจร หลอดไฟจึงติด (ดังรูป ก)


2. วงจรเปิด (Open Circuit) ถ้าดูตามรูป วงจรเปิด ไฟจะไม่ติดเพราะว่า ไฟออกจากแหล่งกำเนิดก็จะไหลไปตามสายพอไปถึงสวิทช์ซึ่งเปิดห่างออกจากกัน (ภาษาพูดว่าปิดสวิทช์) ไฟฟ้าก็จะผ่านไปไม่ได้ กระแสไฟฟ้าไม่สามารถจะไหลผ่านให้ครบวงจรได้ (ดังรูป ข)



การที่กระแสไฟฟ้าจะไหลครบวงจรได้นั้น ต้องประกอบด้วย

1. แหล่งกำเนิดไฟฟ้า ได้แก่ แบตเตอรี่ หรือเยนเนอเรเตอร์

2. ตัวนำไฟฟ้า ได้แก่ สายไฟฟ้า

3. ความต้านทาน ได้แก่ อุปกรณ์ที่ใช้กับไฟฟ้าทุกชนิด

4. สะพานไฟ (Cut out) หรือสวิทช์ (Switch) เป็นตัวตัดและต่อกระแสไฟฟ้า

ดังนั้นวงจรไฟฟ้าก็คือ " การไหล หรือ ทางเดินของไฟฟ้านั่นเอง "


ไฟฟ้าสถิตย์















ไฟฟ้าสถิต (Static electricity)





ไฟฟ้าสถิต (Static electricity) เป็นปรากฏการณ์ที่ปริมาณประจุไฟฟ้าขั้วบวกและขั้วลบบนผิววัสดุมีไม่เท่ากัน ปกติจะแสดงในรูปการดึงดูด, การผลักกัน และเกิดประกายไฟ





การเกิดไฟฟ้าสถิต การที่ปริมาณประจุไฟฟ้าขั้วบวกและขั้วลบบนผิววัสดุมีไม่เท่ากันทำให้เกิดแรงดึงดูดเมื่อวัตถุทั้ง 2 ชิ้นมีประจุต่างชนิดกัน หรือเกิดแรงผลักกันเมื่อวัสดุทั้ง 2 ชิ้นมีประจุชนิดเดียวกัน เราสามารถสร้างไฟฟ้าสถิตโดยการนำผิวสัมผัสของวัสดุ 2 ชิ้นมาขัดสีกัน พลังงานที่เกิดจากการขัดสีกันทำให้ประจุไฟฟ้าบนผิววัสดุจะเกิดการแลกเปลี่ยนกัน โดยจะเกิดกับวัสดุประเภทที่ไม่นำไฟฟ้า หรือที่เรียกว่า ฉนวน ตัวอย่างเช่น ยาง, พลาสติก และแก้ว สำหรับวัสดุประเภทที่นำไฟฟ้านั้นโอกาสเกิดปรากฏการณ์ประจุไฟฟ้าบนผิววัสดุไม่เท่ากันนั้นยากแต่ก็สามารถเกิดขึ้นได้ เช่น กรณีที่ผิวโลหะถูกกระแทกด้วยของแข็งหรือของเหลวที่ไม่เป็นตัวนำ ประจุที่เกิดการเคลื่อนย้ายระหว่างการสัมผัสจะถูกเก็บบนผิวของวัสดุทั้ง 2 ชิ้น
ไฟฟ้าสถิตเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่คุ้นเคยสำหรับประเทศที่มีอากาศหนาว ในฤดูหนาวสำหรับประเทศเหล่านี้ความชื้นในอากาศจะต่ำมาก การเกิดไฟฟ้าสถิตบนผิวหนังจะเกิดขึ้นง่ายมาก ดังนั้นเมื่อเกิดการสัมผัสกับวัสดุประเภทตัวนำจะทำให้เกิดการถ่ายเทประจุไปยังตัวนำอย่างรวดเร็วทำให้เกิดอาการสะดุ้งได้ และนอกจากนั้นยังสามารถทำความเสียหายให้กับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์





วิชาไฟฟ้าสถิต
วิชาไฟฟ้าสถิต คือความรู้ที่เกี่ยวข้องกับปรากฎการณ์อันเกิดจากประจุไฟฟ้าที่อยู่นิ่ง
แรงระหว่างประจุไฟฟ้า เป็นแรงมูลฐานที่เกิดขึ้นในธรรมชาติ เช่นเดียวกับแรงดึงดูดระหว่างมวล แรงแม่เหล็ก และ แรงนิวเคลียร์


กฎว่าด้วยแรงระหว่างประจุไฟฟ้า ประจุชนิดเดียวกัน ผลักกัน ประจุต่างชนิด ดึงดูดกัน แรงผลักหรือแรงดูดระหว่างประจุ เป็นแรงคู่กริยา
ตัวนำไฟฟ้า คือสารที่ยอมให้ประจุไฟฟ้าถ่ายเทไป – มาได้โดยง่ายทั่วถึงกันทั้งก้อน
ฉนวนไฟฟ้า คือสารที่ยอมให้ประจุไฟฟ้าเคลื่อนผ่านได้เพียงเล็กน้อย
สารกึ่งตัวนำ คือสารที่มีสมบัติทางไฟฟ้าอยู่ในระหว่างตัวนำไฟฟ้ากับฉนวนไฟฟ้า
การทำให้วัตถุมีประจุ ปกติวัตถุทั้งหลายมีโปรตอนและอิเล็กตรอนเป็นองค์ประกอบในจำนวนที่เท่าๆ กัน ดังนั้นจำนวนประจุบวก ประจุลบ ในวัตถุจึงมีอยู่เท่ากัน เรียกวัตถุอยู่ในสภาพเป็นกลางทางไฟฟ้า
กรณีที่วัตถุได้รับพลังงาน ( ไฟฟ้า เคมี ความร้อน แสง และอื่นๆ ) จะทำให้อิเล็กตรอน หรือ อิออนเคลื่อนที่ ประจุลบบนวัตถุนั้นอาจมีมากกว่า หรือน้อยกว่าประจุบวก ถ้ามีมากกว่าวัตถุดังกล่าวมีประจุลบอิสระ ถ้ามีน้อยกว่าวัตถุดังกล่าวมีประจุบวกอิสระ



การกระจายของประจุ
บนฉนวน ประจุปรากฎเฉพาะบางส่วน เพราะประจุเคลื่อนที่ผ่านฉนวนได้ยาก
บนตัวนำ ประจุกระจายแต่เฉพาะผิวนอกของตัวนำ * ความหนาแน่นประจุต่อพื้นที่บริเวณปลายแหลมหรือขอบ มีมากกว่าบริเวณผิวราบเรียบ ในกรณี ตัวนำทรงกลม ประจุกระจายทั่วถึงกัน ความหนาแน่นประจุสม่ำเสมอ
ให้ Q = ปริมาณประจุไฟฟ้าอิสระบนทรงกลม หน่วยคูลอมบ์


R = รัศมีทรงกลม หน่วยเมตร


D = ความหนาแน่นประจุต่อพื้นที่ผิวของตัวนำทรงกลม หน่วยคูลอมบ์ต่อตารางเมตร


ตัวอย่างเช่น ตัวนำทรงกลมรัศมี 1.0 เซนติเมตร ได้รับอิเล็กตรอน 103 อนุภาค หากไม่มีการรั่วไหลของประจุ ความหนาแน่นของประจุต่อพื้นที่ = 1.3x10-13 คูลอมบ์ต่อตารางเมตร