รูปแบบของวงจรไฟฟ้าภายในบ้าน
วงจรไฟฟ้าภายในบ้าน หมายถึง ทางเดินของกระแสไฟฟ้าที่จะไหลไปตามส่วนต่างๆของวงจรที่เป็นตัวนำ การต่อวงจรไฟฟ้าในบ้าน หมายถึง การต่อความต้านทาน ซึ่งมีอยู่ 3 แบบ คือ
1.1 การต่อความต้านทานแบบอันดับ หรือแบบอนุกรม เป็นการต่อความต้านทานเรียงกันไปตามลำดับ โดยที่ปลายสายของความต้านทานหรืออุปกรณ์ไฟฟ้า (หลอด) ของตัวที่หนึ่งต่อกับต้นสายของความต้านทานหรืออุปกรณ์ไฟฟ้า (หลอด) ของตัวที่สอง และอีกปลายหนึ่งของความต้านทานหรืออุปกรณ์ไฟฟ้าตัวที่สองต่อกับต้นสายของความต้านทาน หรืออุปกรณ์ตัวที่สามเรียงต่อกัน
![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEjujVPvgBr9YGsDNC6RPLJjpoN40qZ4SoK6UDf49_GYxculsYeos9ll8fGSeHmpzJGCTt9soMczB18nhXTXHHIA9MrboXevNAfF66EFOwx_GyP_LBmiod3Jwnoqr75YzRwYDRudP6EIoKez/s320/61.gif)
1.2 การต่อความต้านทานแบบขนาน การต่อความต้านทานแบบขนาน เป็นการต่อสายของความต้านทานแต่ละตัวไว้ที่เดียวกัน และปลายสายอีกด้านหนึ่งต่อร่วมกันไว้ที่เดียวกัน
![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEgvqZzyXHAcnuabnlG-bbDXJmbYtI-fsS2sHU0Ljpz2JwewlvxQM-LFxb89SY6Vjsrt5B4bNO-8Quw6BUjlO0ImDFR3HbNy_up87n-x55Ph1n1Gk_nQ98SbfmCFmJd9b6Lgn4d2Q8OPM5BQ/s320/60.gif)
1.3 การต่อความต้านทานแบบผสม เป็นการต่อความต้านทานที่มีทั้ง 2 แบบในวงจรเดียวกัน
![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEiGaFjsU9RJYU6bzX3qvIcWCz2UDLNC7LdIF7zxkT0RTNnZd0aEVBCpNC7otQ1VSd7eLub7lZyCNPgUBPpTg6BGnlZn88QCdnlkXJ7H7SF7JrnEehTAz3XHIB2Fq6uBq5kn_Ei4JjvXE9mh/s320/59.gif)
(วงจรไฟฟ้าภายในบ้านนิยมแบบขนาน เนื่องจากถ้ามีอุปกรณ์ไฟฟ้าตัวใดตัวหนึ่งขาด อุปกรณ์ไฟฟ้าที่เหลือก็จะใช้งานได้)
1.4 แผนผังการต่อวงจรไฟฟ้าในบ้าน การต่อไฟฟ้าในบ้านเริ่มต้นจากสายไฟฟ้าใหญ่ลงมาที่มาตรไฟฟ้าจากมาตรไฟฟ้าต่อเข้าคัตเอาท์และฟิวส์ สายที่ต่อจากฟิวส์เป็นสายประธาน ซึ่งสามารถต่อแยกไปยังส่วนต่าง ๆ ของอาคารได้
![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEjo3YqR4deaZceihCypSNTcj2zPfTMbsWw8xwD3N8jW0LeL8UDAcOSw5k6kEoCECodj-zfDlpvSAKGNn21DZQiIISc2sEB4cMsnmlgc76rqXwYky94afCifbagiEl0yvp02Iqeu-3wTFSlu/s320/58.gif)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น